Impossible trinity

** กลไก Impossible trinity อย่างง่าย **
เก็บไว้อ่านข่าวนโยบายอัตราเเลกเปลี่ยน

สืบเนื่องจาก MDR Report เมื่อเช้า มีหลังไมค์มาให้ผมสรุปอีกที เลยอยากเล่าให้ฟังคร่าวๆเเบบนี้ครับ

.

Impossible trinity หรือสามเหลี่ยมที่เป็นไปไม่ได้ ประกอบไปด้วยนโยบายการเงินสามทางที่เลือกได้เเค่สองเท่านั้น

1) Fixed Exchange rate >> ขอกำหนดอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่

2) Free Capital Flow >> การอนุญาตให้เงินไหลเข้าออกอิสระ

3) Monetary Autonomy >> ขอกำหนดโนบายทางการเงิน เช่น ดอกเบี้ยเอง

ถ้าจำไปดื้อๆเเบบนี้
รับรองว่ามึนตึ๊บ

#มันเลยมีหลักการทำความเข้าใจ

เราจะเห็นว่าข้อที่ “ฝืนธรรมชาติ” ที่สุดคือข้อ 1 หรือการกำหนดอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่ เพราะมันฝืนกลไก Demand-Supply

ทำให้นโยบายการเงินโดยมากทั่วโลกเลือกที่จะใช้ 2 กับ 3 คือ Free Capital Flow + Monetary Autonomy คือปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอิสระ เเละขอกำหนดอัตราดอกเบี้ยเองตาม Demand – Supply ที่เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้นประเทศที่เลือกข้อ 1 จะมีกลิ่นของความต้องการใน”ควบคุม”สูงมาก

ยิ่งถ้าเลือก 1) กับ 3) หมายถึง อัตราเเลกเปลี่ยนก็จะคุม อัตราดอกเบี้ยก็จะคุม หมายถึงประเทศที่ต้องการมี Full Control กับเงินของประเทศตัวเอง

พอเห็นลักษณะการ”ควบคุม”เเบบนี้ ประเทศที่นึกออกเป็นที่เเรกๆก็เห็นจะไม่พ้น

“ประเทศจีน”

จีนจึงเป็นประเทศที่เลือก 1) กับ 3) เพราะฉะนั้นจีนจะปล่อยให้เงินทุนไหลเข้าออกอย่างอิสระไม่ได้ ไม่งั้นจะมี Demand ทะลักเข้ามาเก็งกำไรส่วนต่างดอกเบี้ยจนเศรษฐกิจพัง

นี่คือกฏของ Impossible Trinity

ส่วนประเทศที่เลือก 1) กับ 2) คึอการขอ Fixed อัตราเเลกเปลี่ยน + เงินทุนไหลเข้าอิสระ

เเปลว่าเป็นประเทศที่ต้องการสร้างความ “เสถียร” ของค่าเงินที่ไหลเข้าออก เพราะฉะนั้นต้องเป็นประเทศที่พึ่งพา Financial Service เป็นหลัก เเละต้องการให้เป็นจุดศูนย์กลางการเเลกเปลี่ยนการเงินของโลก

พอเข้าใจลักษณะนโยบายเเบบนี้
เราเลยจะนึกถึงประเทศที่เหมาะสมอย่าง

” ฮ่องกง “

ฮ่องกงจึงเป็นที่ที่ใช้นโยบายการเงินข้อ 1) เเละ 2) เเต่เเน่นอนว่าต้องยอมต้องสูญเสียข้อสามไป ด้วยการไม่สามารถดำเนินนโยบายการเงิน เช่นขึ้นดอกเบี้ยได้เอง เเต่ต้องปรับนโยบายการเงินไปตามประเทศที่ตัวเอง Peg อยู่ซึ่งก็คือสหรัฐนั่นเอง

จึงเป็นที่มาว่าทำไม HKDUSD เลยต้องพึ่งพานโยบายดอกเบี้ยตามสหรัฐเป็นหลัก

มันเคยมีครับกับประเทศที่ “ฝืน” กฏ Impossible Trinity เเล้วเจ็บตัวหนักมาก

เดิมปล่อยเงินทุนไหลเข้าออกอิสระ (2)
เเละเลือกมีนโยบายการเงินของตัวเอง (3)
เเต่ดันอยากคุมอัตราเเลกเปลี่ยนคงที่ (1)

นั่นคือ “ประเทศไทย”
ที่เรารู้จักกันชื่อวิกฤตต้มยำกุ้งครับ


จบวิชาเศรษฐศาสตรข้างบ้าน 101 ประจำวันนี้

อย่าเรียนเเบบท่องจำ
เเต่ให้เรียนด้วยความเข้าใจ

เเล้วโลกการเงิน
จะสนุกขึ้นเยอะครับ

#MDRreport
#MoneyGame

Leave a Comment